‘ศักดิ์สยาม’ เผยเร่งกำหนดทิศทางและมาตรการรองรับอุตสาหกรรมการบินให้สามารถฟื้นตัวได้โดยเร็ว

 

ศักดิ์สยาม เปิดงาน ทะยานสู่การบินบริบทใหม่ พร้อมเร่งกำหนดทิศทางและมาตรการรองรับอุตสาหกรรมการบินให้สามารถฟื้นตัวได้โดยเร็ว

วันที่ 13 ธ.ค.64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาอุตสาหกรรมการบินของไทย ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ ทะยานสู่การบินบริบทใหม่ (Thai Aviation Industry Conference 2021 : flying to the new era of Thai aviation) พร้อมเร่งกำหนดทิศทางและมาตรการรองรับอุตสาหกรรมการบินให้สามารถฟื้นตัวได้โดยเร็ว ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 รวมทั้งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวสู่การบินบริบทใหม่ในอนาคต ภายใต้รูปแบบวิถีชีวิตการเดินทางแบบ New Normal เพื่อส่งเสริมให้การบินของไทยกลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ผู้แทนจากหน่วยงานระหว่างประเทศและผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย กรมท่าอากาศยาน (ทย.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ผู้แทนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทย และสมาคมสายการบินประเทศไทยและสายการบินไทย ผู้ประกอบการสายการบิน สนามบิน และผู้ให้บริการการเดินอากาศ เข้าร่วมการสัมมนาฯ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า อุตสาหกรรมการบินมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นกลไกซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถือเป็นรายได้หลักของประเทศ ทั้งยังก่อให้เกิดรายได้จากการบริโภค การจ้างงาน การค้า และการลงทุน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์ที่ 3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน ซึ่งในปี 2563 อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย กบร. และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ได้แก่ ทย. ทอท. บวท. และ กพท. จึงได้ดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการบิน รวมทั้งมาตรการกระตุ้นความต้องการการเดินทางทางอากาศจากวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สายการบินสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ประกอบด้วย มาตรการลดค่าใช้จ่าย มาตรการทางการเงิน และมาตรการผ่อนคลายกฎระเบียบ

 

ทั้งนี้ จากผลการตรวจ Full ICAO Coordinated Validation Mission แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนของประเทศไทยทัดเทียมกับมาตรฐานเฉลี่ยของประเทศสมาชิกอื่น ๆ จึงนับได้ว่าอุตสาหกรรมการบินของไทยมีความแข็งแกร่ง พร้อมที่จะเติบโตและสามารถส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคได้ แต่ด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญ ทำให้อุตสาหกรรมการบินพบกับวิกฤติ จำนวนผู้โดยสารทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศลดลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย รัฐบาลจึงได้มีนโยบายเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2564 ปรับฟื้นตัวขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล การจัดงานสัมมนาฯ ในวันนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มาร่วมกันระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อเตรียมความพร้อมต่อแผนการเปิดประเทศ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการกำกับดูแลการบินพลเรือน และบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้อุตสาหกรรมการบินของไทยทุกภาคส่วนมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางทางอากาศภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 คลี่คลาย พร้อมรองรับการเดินทางแบบ New Normal ครอบคลุมในทุกพื้นที่ตามแผนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมให้การบินของไทยกลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับงานสัมมนาอุตสาหกรรมการบินของไทย ประจำปี 2564 เป็นการจัดสัมมนาในรูปแบบผสม โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ สามารถมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และสามารถเข้าร่วมงานหรือสัมมนาฯ ในช่องทางออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม ประกอบด้วย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 1.Overcoming today’s challenges and tomorrow’s needs โดย นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย 2. Guidance for Air Travel through the COVID-19 Public Health Crisis โดยผู้แทนจากหน่วยงานการบินระหว่างประเทศทั้ง ICAO IATA ACI และ CANSO 3. เดินหน้าพร้อมเปิดประเทศ บริบทใหม่ของการท่องเที่ยว และโอกาสของอุตสาหกรรมการบิน โดยผู้แทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทย และนักแสดงชื่อดัง ป๋อมแป๋ม นิติ ชัยชิตาทร 4.ถอดบทเรียน COVID-19 ฝ่าวิกฤตสู่บริบทใหม่ของการเดินทางทางอากาศ โดยผู้แทนจากสมาคมสายการบินในประเทศไทยและสายการบินไทย 5.อดบทเรียน COVID-19 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเดินทางวิถีใหม่ (new normal) โดยผู้ประกอบการสนามบินและผู้ให้บริการการเดินอากาศ

ทั้งนี้ กพท. ได้จัดสัมมนาแนวโน้มอุตสาหกรรมการบินมาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ Take-off Conference : Chapter 1 – Bound for the Future ในปี 2561 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลแนวโน้มอุตสาหกรรม และรวบรวมประเด็นปัญหา อุปสรรคจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ กพท. จากผู้ประกอบการเพื่อกำหนดทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินร่วมกัน และ “Take-off Conference : Chapter 2 – Ascending to the new height” ในปี 2562 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (ฉบับปรับปรุงล่าสุด)