ก.ล.ต.-ธปท. เล็งทบทวนเกณฑ์กำกับ”เงินดิจิทัล”

ก.ล.ต.เตรียมทบทวนเกณฑ์กำกับเงินดิจิทัล มุ่ง”คริปโทเคอเรนซี – เงินโทเคน ( Utility Token ) หลังธุรกิจออกมาใช้มากขึ้น ห่วงกระทบผู้บริโภค ขณะที่ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ครอบคลุมไม่ถึง เผยอยู่ระหว่างหารือกับ ธปท. หาแนวทางกำกับ

22 ธ.ค.65 นางสาวนภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในรายการ “ฐานทอล์ก” ซึ่งจัดโดย “ฐานเศรษฐกิจดิจิทัลออนไลน์” ถึงแนวทางการในการส่งเสริมและกำกับดูแลเงินดิจิทัล ว่า พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ 2561 ได้ให้อำนาจ ก.ล.ต.ในการกำกับสินทรัพย์ดิจิทัลใน 3 ส่วน คือ

1.เรื่องของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ( Investment token)

2.โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ ( Utility Token )

3.คริปโทเคอร์เรนซี่ ( cryptocurrency ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ สินทรัพย์ดิจิทัลหรือสิทธิอื่นใด

อย่างไรก็ดีในส่วนที่เป็นการลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ หรือ Investment token เป็นสิ่งที่ก.ล.ต.สนับสนุนอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นโปรดักซ์การระดมทุน และจะเห็นว่าปีนี้มีโครงการ ICO ที่ระดมทุนสำเร็จ ในลักษณะ real estate-backed ICO โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง “ICO Portal” ที่ทำหน้าที่เหมือน FA มาช่วยในการออกโทเคนเพื่อระดมทุนซึ่งมีอยู่แล้ว 7 ราย ตรงนี้ได้มีการมาหารือร่วม ก.ล.ต. ซึ่งก.ล.ต.อาจจะมีการปรับเกณฑ์ให้ครอบคลุมสอดคล้องมากขึ้น และในอนาคตจะมีการย้าย การระดมทุนในรูปแบบ real estate-backed ICO ให้ไปอยู่ใน พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้อยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกัน

 

“ก.ล.ต.อยากให้ผู้ประกอบการธุรกิจสบายใจ อย่างไรก็ดีเมื่อเมื่อย้ายมาอยู่ใน พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก็ยังสามารถระดมทุนได้เหมือนเดิม โดย ก.ล.ต.เตรียมที่ออกเกณฑ์มารองรับในส่วนนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงยิ่งขึ้น ”

 

ในส่วนของ Utility Token ปัจจุบันมีการพัฒนาเร็วมาก ทั้งในส่วนของ NFT ( Non – Fungible Token ) คอยน์ที่แสดงความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ และขณะนี้ทั้งโครงการในกลุ่มท่องเที่ยว กีฬา บันเทิง ก็มีการออกคอยน์ เพื่อสะดวกในการใช้บล็อกเซน ตรงนี้ตอนที่ร่าง พ.ร.ก.การกำกับสินทรัพย์ดิจิทัล 2561 เรายังไม่เห็นว่ามีพัฒนาการในส่วนนี้ ขณะเดียวกันกฏหมายก็เขียนไว้กว้างเพื่อให้มีความครอบคลุม ซึ่งจากที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. แต่เมื่อนำบล็อกเซนมาใช้ก็อยู่ภายใต้ ก.ล.ต.ในทันที ซึ่งเป็นประเด็นที่ ก.ล.ต.มองอยู่แล้วว่าจะจัดการอย่างไร จะกำกับฯหรือไม่ หรือควรเข้าไปกำกับอย่างไร

รวมทั้งอาจต้องมีหนวยงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น NFT ที่เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ หรือที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ซึ่งอาจมีประเด็นเรื่องการผิดสัญญาหรือไม่ เป็นเรื่องที่ ก.ล.ต.อยู่ระหว่างทบทวน เพราะต้องคำนึงทั้งด้านของการส่งเสริมนวตกรรมเพราะเป็นโอกาสของประเทศ โอกาสทางด้านเศรษฐกิจ ขณะที่อีกด้านก็ต้องกำกับดูแลในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย

 

ส่วนพัฒนาทางด้าน คริปโทเคอเรนซี Stablecoin การนำชำระราคาแลกเปลี่ยนสินค้า ที่ผ่านมาทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการหารือร่วมกัน กับ ก.ล.ต.กำลังพิจารณว่าจะมีแนวทางการกำกับเรื่องนี้อย่างไร